การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ.2563
เวลา 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
นิยามของการเกิดการเรียนรู้ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เด็กในช่วงอายุ 0 - 1 ปี อยู่ในขั้นประสาทรับรู้ ของเล่นที่เหมาะสม เช่น ปลาตะเพียน เด็กในวัยนี้มักจะนำของเข้าปาก
เด็กในช่วงอายุ 2 - 4 ปี จะอยู่ในขั้นอนุรักษ์เป็นช่วงวัยที่พูดตามที่ตนมองเห็น พูดอย่างไม่มีเหตุผล ควรจัดประสบการณ์แบบที่เด็กสามารถจับต้องได้ ให้เห็นเป็นรูปธรรมไปเป็นนามธรรม
พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กตามช่วงวัย
ลักษณะของพฒนาการ คือ เด็กพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องแบบขั้นบรรได
การจัดกิจกรรม ยาก : เด็กท้อ ไม่อยากทำ
ง่าย : เด็กเบื่อ
วิธีการที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ : ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำกับวัตถุมีโอกาสได้ตัดสินใจด้วยตนเองอย่างสนุกสนาน (การเล่น) จึงควรจัดประสบการณ์ผ่านการเล่น
เทคนิคการจัดประสบการณ์ : เพลง นิทาน คำคล้องจอง เกม คำทาย ฯลฯ
กิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์ให้คิดกิจกรรมที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยใช้เพียงแค่กระดาษ A4 จำนวน 1 แผ่นในการทำ
คำศัพท์
Learning การเรียนรู้
Activity กิจกกรม
Rhyme คล้องจอง
Technique เทคนิค
Concrete รูปธรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนโดยมีการถาม ตอบ ทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้นจากคำตอบที่ต่อยอด
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและคิดกิจกรรมตาม แต่อาจารย์แนะนำว่สกิจกรรมที่คิดไปนั้นอาจจะไปในทางแบบฝึกหัด สามารถนำไปใช้ในการสรุปหลังเรียนได้
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง : เพื่อนสนใจฟัง และตอบคำถามอาจารย์แม้จะเดาบ้าง และคิดกิจกรรมที่หลากหลายมากมาย
ประเมินบรรยากาศในห้อง : ห้องแอร์เย็นสบาย นั่งเรียนกับพื้น สะดวกต่อการทำกิจกรรม