วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 4 วันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2563 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ.2563

เวลา 08.30-12.30 น.



เนื้อหาที่เรียน

      นิยามของการเกิดการเรียนรู้ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เด็กในช่วงอายุ 0 - 1 ปี อยู่ในขั้นประสาทรับรู้ ของเล่นที่เหมาะสม  เช่น ปลาตะเพียน เด็กในวัยนี้มักจะนำของเข้าปาก
เด็กในช่วงอายุ 2 - 4 ปี จะอยู่ในขั้นอนุรักษ์เป็นช่วงวัยที่พูดตามที่ตนมองเห็น พูดอย่างไม่มีเหตุผล ควรจัดประสบการณ์แบบที่เด็กสามารถจับต้องได้ ให้เห็นเป็นรูปธรรมไปเป็นนามธรรม
        พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กตามช่วงวัย
        ลักษณะของพฒนาการ คือ เด็กพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องแบบขั้นบรรได
        การจัดกิจกรรม  ยาก : เด็กท้อ ไม่อยากทำ
                                 ง่าย  : เด็กเบื่อ
วิธีการที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ : ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำกับวัตถุมีโอกาสได้ตัดสินใจด้วยตนเองอย่างสนุกสนาน (การเล่น) จึงควรจัดประสบการณ์ผ่านการเล่น
เทคนิคการจัดประสบการณ์ : เพลง นิทาน คำคล้องจอง เกม คำทาย ฯลฯ

กิจกรรมในห้องเรียน

     อาจารย์ให้คิดกิจกรรมที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยใช้เพียงแค่กระดาษ A4 จำนวน 1 แผ่นในการทำ


คำศัพท์

Learning   การเรียนรู้
Activity     กิจกกรม
Rhyme       คล้องจอง
Technique  เทคนิค
Concrete     รูปธรรม




ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนโดยมีการถาม ตอบ ทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้นจากคำตอบที่ต่อยอด
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและคิดกิจกรรมตาม แต่อาจารย์แนะนำว่สกิจกรรมที่คิดไปนั้นอาจจะไปในทางแบบฝึกหัด สามารถนำไปใช้ในการสรุปหลังเรียนได้
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง : เพื่อนสนใจฟัง และตอบคำถามอาจารย์แม้จะเดาบ้าง และคิดกิจกรรมที่หลากหลายมากมาย
ประเมินบรรยากาศในห้อง : ห้องแอร์เย็นสบาย นั่งเรียนกับพื้น สะดวกต่อการทำกิจกรรม

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563

สรุป วิจัย


วิจัยเรื่อง  การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้จากการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้วิธี SPARPS ร่วมกับสื่อหนังสือสัมผัส

   
      จากวิจัยเรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เสี่ยง ต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้จากการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยวิธี SPARPS ร่วมกับสื่อหนังสือสัมผัส ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ หลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้ โดยวิธี SPARPS ร่วมกับสื่อหนังสือสัมผัส และเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยวิธี SPARPS ร่วมกับสื่อหนังสือสัมผัส ซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้

    1. เด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ โดยวิธี SPARPS ร่วมกับสื่อหนังสือสัมผัส มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี
   
     2.จากการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ หลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้วิธี SPARPS ทำให้รู้ว่าการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้วิธี SPARPS ร่วมกับสื่อหนังสือสัมผัสเป็นการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์โดยใช้การสัมผัสเป็นตัวกระตุ้นทำให้เด็กเกิดความทรงจาที่คงทนยิ่งขึ้นเนื่องจากการจำจากการสัมผัสเป็นการจัดเก็บข้อมูลตามสภาพจริงจากธรรมชาติของสิ่งเร้า เพื่อรอการตัดสินใจว่าจะให้ความสนใจหรือไม่ ถ้าสนใจก็จะเข้ารหัสเก็บ ซึ่งกระบวนการควบคุมให้เกิดความจาระยะนี้คือ การระลึกได้ (Recognition) ถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว และความสนใจ (Attention)

สรุป บทความ


      คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูมักสอนเด็กตั้งแต่เล็กๆ ก่อนที่เด็กจะได้เรียนรู้วิชานี้ในโรงเรียน แต่จะเป็นลักษณะการท่องจำมากกว่าการสอนในเรื่องจำนวน  เด็กที่ได้รับการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และการอ่านมักจะเรียนได้ดีกว่าเมื่อเข้าเรียนชั้นอนุบาล
      คณิตศาสตร์ เป็นทักษะที่สำคัญอันหนึ่งนอกจากทักษะด้านภาษา ร่างกาย และทักษะทางสังคม ทักษะต่างๆเหล่านี้จะมีการพัฒนาร่วมกันและมีอิทธิพลต่อกันและกัน เราสามารถเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่เขาอยู่ในช่วงปฐมวัย เพราะวัยแรกเกิดถึงหกขวบนั้นเป็นช่วงเวลาที่สมองจะพัฒนาสูงสุดในทุกๆด้าน หากได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง

ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับลูกน้อยก่อนเข้าสู่โรงเรียน

- สังกตสิ่งของเหมือนและต่างกัน
- เปรียบเทียบสิ่งของที่เหมือนและต่างกัน
- การจัดลำดับสิ่งของ
- การนับ
- การวัด
- รูปทรงและขนาด
- การจัดหมู่
- การรวมหมู่
- การแยกหมู่

เทคนิคดีๆ แนะนำพ่อ แม่ พาทำกิจกรรมเสริมความสุขพัฒนาคณิตศาสตร์

- นับจำนวน
- คัดแยกรูปทรง
- เดินเล่นและบอกจำนวนที่เด็กเห็น เช่น หินก้อนนี้ใหญ่กว่าก้อนนี้ เก้าอี้มี 1 ตัว

สรุป ตัวอย่างการสอน

จุดประสงค์ของการสอนนับเลข
1.เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความหมายของจำนวนในแต่ละเลข
2.เพื่อให้นักเรียนเขียนเลขได้
โดยวิธีการสอนดังนี้
ขั้นนำ
- จะเริ่มจากการให้นักเรียนทำท่าประกอบเพลงเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายและอยากเรียน
- เริ่มเรียนจากการนับจำนวน 1 จากวัตถุที่เป็นรูปธรรมก่อน
- นำบัตรภาพมาให้นักเรียนดูและให้พูดจำนวนจากบัตรภาพ
- แทนบัตรภาพด้วยบัตรเลข
- เมื่อแสดงตัวอย่างครบแล้วให้สรุปว่า ตัวเลขนี้ คือสัญลักษณ์ของสิ่งของจำนวนเท่านี้
- จากนั้นต้องสอนอีกว่าตัวเลข 1 สามารถใช้แทนสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น 1 ครั้ง , 1 ก้าว
- หลังจากนั้นให้นักเรียนเขียนตัวเลขที่เรียนบนอากาศเพื่อประเมินผลหลังจากที่เรียน
- ครูสรุปอีกรอบโดยใช้บัตรภาพพร้อมกับจำนวน ครูพูดและให้เด็กนักเรียนพูดตาม
ขั้นฝึกทักษะ
- ออกแบบกิจกรรมให้กับนักเรียน เช่น ให้หาอวัยวะจำนวน 1 เดียวในร่างกายว่ามีอะไรบ้าง  ,
   ชูแผ่นป้ายตัว้ลขและให้เด็กปรบมือจามจำนวนที่เห็น


ข้อแนะนำ
ควรสอนไปทีละเลขเมื่อมั่นใจว่าเด็กเข้าใจตัวเลข 1 แล้ว ก็สอนเลขต่อไปได้




ครั้งที่ 3 วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2563 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ.2563

เวลา 08.30-12.30 


งานที่ได้รับมอบหมาย 

-   ทำ Mind map เรื่องแนวคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์



วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 2 วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2563 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ.2563

เวลา 08.30-12.30 



เนื้อหาที่เรียน

         วันนี้ได้เรียนเกี่ยวกับการเลือกเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง จำเป็นที่จะต้องเลือกจากความมีคุณภาพซึ่งดูจากการผ่านการรองรับจากองค์กรที่มีมาตรฐาน และยังเรียนเกี่ยวกับการใช้อิเล็กทรอนิกส์ในการศึกษา ซึ่งทำให้ทราบถึงประโยชน์ของอิเล็กทรอนิกส์ก็คือการทำแฟ้มสะสมผลงานผ่าน Blogger ทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตลอดเวลาที่เราต้องการและจัดแต่งให้สวยงามตามความพอใจของเรา ประหยัดงบประมาณ รวมถึงลดการใช้กระดาษ ป้องกันการสูญหายของชิ้นงานสามารถนำไปใช้ได้ตลอดไปถ้าเราเข้ามาดูในเว็บของตนเอง

ความรู้เพิ่มเติม

          ครูอนุบาลต้องเป็นแบบอย่าง สกัดสิ่งดีๆให้เด็ก ครูพูดอะไรจะส่งให้เด็กจดจำ ครูไม่สามารถทำตามใจตนเองทุกอย่างเพราะต้องคำนึงถึงเด็กด้วย

ทักษะที่ได้

          สามารถเชื่อมต่อ Link ของผู้อื่นกับ Blogger ได้ รวมถึงหน่วยงานต่างๆด้วย

สมรรถนะ

          ได้ Blogger เพื่อใช้ในการสะสมผลงาน 



คำศัพท
Knowledge   ความรู้
Associate     เชื่อมโยง
Inference      การสรุป
Article           บทความ
Comment     คำอธิบา


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนควบคุมทั้งเนื้อหารายวิชา งาน และยังมีความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย
ประเมินตนเอง : จดบันทึกวิธีการต่างๆ รวมถึงเทคนิคในการทำบล็อค
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง : เพื่อนสนใจฟังวิธีทำบล็อคเพราะบางคนยังไม่เข้าใจไม่ถี่ถ้วน
ประเมินบรรยากาศในห้อง : ห้องแอร์เย็นมากจนหนาว เรียนกับโต๊ะเลคเชอร์ สะดวกต่อการจดบันทึก

ครั้งที่ 1 วันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2563 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ.2563

เวลา 08.30-12.30




 เนื้อหาที่เรียน

      วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งแรกของวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ถามตอบเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาก่อนเพื่อทบทวน หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  บทความ นิทาน  เพลง สื่อ เกม ของเล่น เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เเละตัวอย่างการสอนจาก Youtube เพื่อนำไปใส่ใน Blogger ของตนเองเพื่อทำแฟ้มสะสมผลงาน

คำศัพท์
Trial and error  ลองผิดลองถูก
Experience       ประสบการณ์
Do it youself     ลงมือทำด้วยตนเอง
Expression       การแสดงออก
Confidence       ความมั่นใจ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่นการ์ตูน


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แจกแจงงานได้อย่างละเอียดและชัดเจน ทั้งยังมีวิธีการทบทวนที่สนุกได้คิด                             ต่อยอดไปเรื่อยๆ
ประเมินตนเอง : จดรายละเอียดเพื่อนำกลับมาทำของตนเองอย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง : ตั้งใจตอบคำถามของอาจารย์ไม่ว่าจะผิดหรือถูก
ประเมินบรรยากาศในห้อง : ห้องใหม่เย็นสบาย นั่งกับพื้นสะดวกต่อการเรียน